ส่วนที่แสดงคำถามและคำตอบ (Q/A)
ปัจจุบันความผิดและบทลงโทษเกี่ยวกับยาเสพติด กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายยาเสพติด โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๔
ปัจจุบันได้มีการยกเลิกพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ แล้ว
กระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้มีการประกาศกำหนดรายชื่อยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ ในประเภทต่าง ๆ ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้ สามารถตรวจสอบได้ที่ กองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข เว็บไซต์ https://narcotic.fda.moph.go.th/
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
“ยาบ้า” หรือเมทแอมเฟตามีน จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท ๑ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ พ.ศ. ๒๕๖๕ (ลำดับที่ ๕๓) ซึ่งการครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจะมีความผิดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา ๑๔๕ ซึ่งมีอัตราโทษสูงสุด จำคุกตั้งแต่ ๕ ปี ถึง จำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ ๕๐๐,๐๐๐ ถึง ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท หรือประหารชีวิต ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับพฤติการณ์และความร้ายแรงในการกระทำความผิด นอกจากนี้ การครอบครองยาบ้าโดยไม่ได้รับอนุญาต จัดเป็นความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่งนอกจากจะได้รับโทษอาญาดังกล่าวแล้ว ผู้กระทำความผิดยังต้องถูกยึดหรืออายัดทรัพย์สิน เพื่อดำเนินการตรวจสอบตามมาตรการตรวจสอบทรัพย์สินด้วย
การเสพยาบ้า มีบทลงโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา ๑๖๒ อย่างไรก็ดี ในกรณีที่ผู้เสพถูกเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตรวจพบ หากผู้นั้นสมัครใจและเข้ารับการบำบัดรักษาจะครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ก็จะไม่มีการดำเนินคดีกับผู้นั้น
กระท่อมไม่ถือเป็นพืชเสพติด โดยถูกปลดจากบัญชียาเสพติดประเภท 5 เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2564
การซื้อขายน้ำต้มใบกระท่อมสามารถทำได้ แต่ผู้ขายต้องติดป้ายประกาศห้ามขายน้ำต้มใบกระท่อม
ตามมาตรา 24 แห่ง พรบ.พืชกระท่อม พ.ศ. 2565 ห้ามขายให้แก่บุคคลดังต่อไปนี้
1. บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่า 18 ปี
2. สตรีมีครรภ์
3. สตรีให้นมบุตร
และห้ามขายน้ำต้มใบกระท่อมแบบผสม
ตามมาตรา 24 แห่ง พรบ.พืชกระท่อม พ.ศ. 2565 ห้ามขายให้แก่บุคคลดังต่อไปนี้
1. บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่า 18 ปี
2. สตรีมีครรภ์
3. สตรีให้นมบุตร
และห้ามขายน้ำต้มใบกระท่อมแบบผสม
ชีพจรเต้นเร็วผิดปกติ ลำไส้อุดตัน คลื่นไส้ อาเจียน กระสับกระส่าย เซื่องซึม กดการหายใจ ไตวาย ส่งผลกับยาที่รับประทานอยู่ เกิดภาวะถุงท่อม เกิดภาวการณ์เสพติด
ถึงแม้ว่าจะมีการปลดล็อคพืชกระท่อมเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2564 แต่ยังต้องปฏิบัติตาม พรบ.พืชกระท่อม พ.ศ. 2565 และกฎหมายอื่น เช่น พรบ.อาหาร พรบ.สมุนไพร พรบ.ควบคุมอาคารสถานที่ และ พรบ.การสาธารณสุข
ตัวอย่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากพืชกระท่อม เช่น
1. พระราชบัญญัติพืชกระท่อม พ.ศ. 2565
โดยเป็นกฎหมายซึ่งควบคุมการนำเข้าหรือส่งออกใบกระท่อม กำหนดมาตรการห้ามขายใบกระท่อมให้แก่กลุ่มบุคคลซึ่งอาจได้รับอันตรายจากการบริโภค การห้ามขายในบางสถานที่หรือบางวิธีการ และการป้องกันการนำไปใช้ในทางที่ผิด ซึ่งกำหนดความผิดและบทลงโทษสำหรับการฝ่าฝืน
2. พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522โดยเป็นกฎหมายซึ่งกำหนดให้ การนำพืชกระท่อมมาใช้เป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบของอาหาร จะต้องผ่านการประเมินความปลอดภัยของอาหาร และปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 430) พ.ศ. 2564 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 424) พ.ศ. 2564 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ซึ่งกำหนดข้อยกเว้นสำหรับอาหารที่มีส่วนของพืชหรือสารสกัดจากพืชกระท่อมเป็นส่วนประกอบ หากได้ผ่านการประเมินความปลอดภัยของอาหาร และส่งมอบฉลากให้สำนักงาน อย. ตรวจอนุมัติ ตามเงื่อนไขของประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยอาหารใหม่ (Novel food) แล้ว สามารถผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายในราชอาณาจักรได้
3. พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562
โดยเป็นกฎหมายซึ่งกำหนดให้การผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสมุนไพร จะต้องผ่านการตรวจสอบ การอนุญาต การขึ้นทะเบียน และการแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการผลิต อย่างเป็นระบบและครบวงจร เพื่อให้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีพืชกระท่อมเป็นส่วนประกอบ มีความปลอดภัย มีคุณภาพและมีมาตรฐาน โดยจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำการพัฒนาและขออนุญาตผลิตภัณฑ์สมุนไพร สำหรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีสารสกัดใบกระท่อมเป็นส่วนประกอบ
5. พระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507
โดยเป็นกฎหมายควบคุมดูแลด้านสุขอนามัยพืช โรค และศัตรูพืช เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค พาหะ และศัตรูพืชต่าง ๆ ที่อาจย้ายถิ่นฐาน ทั้งการนำเข้ามาในราชอาณาจักร และการส่งออกไปยังต่างประเทศ ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยการอารักขาพืชระหว่างประเทศ
1. พระราชบัญญัติพืชกระท่อม พ.ศ. 2565
โดยเป็นกฎหมายซึ่งควบคุมการนำเข้าหรือส่งออกใบกระท่อม กำหนดมาตรการห้ามขายใบกระท่อมให้แก่กลุ่มบุคคลซึ่งอาจได้รับอันตรายจากการบริโภค การห้ามขายในบางสถานที่หรือบางวิธีการ และการป้องกันการนำไปใช้ในทางที่ผิด ซึ่งกำหนดความผิดและบทลงโทษสำหรับการฝ่าฝืน
2. พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522โดยเป็นกฎหมายซึ่งกำหนดให้ การนำพืชกระท่อมมาใช้เป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบของอาหาร จะต้องผ่านการประเมินความปลอดภัยของอาหาร และปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 430) พ.ศ. 2564 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 424) พ.ศ. 2564 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ซึ่งกำหนดข้อยกเว้นสำหรับอาหารที่มีส่วนของพืชหรือสารสกัดจากพืชกระท่อมเป็นส่วนประกอบ หากได้ผ่านการประเมินความปลอดภัยของอาหาร และส่งมอบฉลากให้สำนักงาน อย. ตรวจอนุมัติ ตามเงื่อนไขของประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยอาหารใหม่ (Novel food) แล้ว สามารถผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายในราชอาณาจักรได้
3. พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562
โดยเป็นกฎหมายซึ่งกำหนดให้การผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสมุนไพร จะต้องผ่านการตรวจสอบ การอนุญาต การขึ้นทะเบียน และการแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการผลิต อย่างเป็นระบบและครบวงจร เพื่อให้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีพืชกระท่อมเป็นส่วนประกอบ มีความปลอดภัย มีคุณภาพและมีมาตรฐาน โดยจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำการพัฒนาและขออนุญาตผลิตภัณฑ์สมุนไพร สำหรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีสารสกัดใบกระท่อมเป็นส่วนประกอบ
5. พระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507
โดยเป็นกฎหมายควบคุมดูแลด้านสุขอนามัยพืช โรค และศัตรูพืช เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค พาหะ และศัตรูพืชต่าง ๆ ที่อาจย้ายถิ่นฐาน ทั้งการนำเข้ามาในราชอาณาจักร และการส่งออกไปยังต่างประเทศ ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยการอารักขาพืชระหว่างประเทศ
พืชกระท่อม ถูกถอดจากการกำหนดให้เป็นยาเสพติด ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ
(ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2564 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. 2564 โดยปัจจุบันประมวลกฎหมายยาเสพติด และประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ มิได้กำหนดให้พืชกระท่อมเป็นยาเสพติดแต่อย่างใด
(ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2564 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. 2564 โดยปัจจุบันประมวลกฎหมายยาเสพติด และประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ มิได้กำหนดให้พืชกระท่อมเป็นยาเสพติดแต่อย่างใด
ประชาชนสามารถเพาะปลูก ครอบครอง และใช้ประโยชน์จากพืชกระท่อมได้ โดยไม่เป็นความผิด
ตามกฎหมาย
ตามกฎหมาย
ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์จากใบกระท่อมได้ เช่น การบริโภคใบกระท่อมในลักษณะของการเคี้ยวใบ โดยไม่กลืนกากและเส้นใยของใบ อย่างไรก็ตาม ควรระมัดระวังผลข้างเคียงจากการบริโภค เช่น อาการวิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร
ไม่ควรบริโภคใบกระท่อม เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อร่างกาย และทารกในครรภ์ได้
ไม่ควรบริโภคใบกระท่อม เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อร่างกาย และทารกในครรภ์ได้
การบริโภคใบกระท่อมสามารถทำได้ไม่มีความผิดตามกฎหมาย
ประชาชนสามารถส่งออกใบกระท่อม ไปยังต่างประเทศได้ ในลักษณะสินค้าประเภทหนึ่ง ทั้งนี้ ภายใต้พระราชบัญญัติพืชกระท่อม พ.ศ. 2565 จะต้องดำเนินการขออนุญาตจากเลขาธิการ ป.ป.ส. และมีใบอนุญาตในการนำเข้าหรือส่งออกก่อนดำเนินการ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
* ในระหว่างที่กฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าหรือส่งออกใบกระท่อมยังไม่มีผลใช้บังคับ ประชาชนสามารถนำเข้าหรือส่งออกใบกระท่อมได้โดยไม่ต้องดำเนินการขออนุญาต และดำเนินการตามกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และหากกฎกระทรวงดังกล่าวมีผลใช้บังคับ ให้ผู้นำเข้าหรือส่งออกใบกระท่อมดำเนินการขอใบอนุญาตจากเลขาธิการ ป.ป.ส. ภายในระยะเวลาที่กฎกระทรวงได้กำหนดไว้
** ผู้ส่งออกใบกระท่อม ควรตรวจสอบข้อมูลสถานะทางกฎหมายของพืชกระท่อม และการควบคุมสาร
ไมทราไจนีน (Mitragynine) ของประเทศปลายทางซึ่งเป็นผู้นำเข้าว่าอยู่ในสถานะได้ ก่อนดำเนินการส่งออก
* ในระหว่างที่กฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าหรือส่งออกใบกระท่อมยังไม่มีผลใช้บังคับ ประชาชนสามารถนำเข้าหรือส่งออกใบกระท่อมได้โดยไม่ต้องดำเนินการขออนุญาต และดำเนินการตามกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และหากกฎกระทรวงดังกล่าวมีผลใช้บังคับ ให้ผู้นำเข้าหรือส่งออกใบกระท่อมดำเนินการขอใบอนุญาตจากเลขาธิการ ป.ป.ส. ภายในระยะเวลาที่กฎกระทรวงได้กำหนดไว้
** ผู้ส่งออกใบกระท่อม ควรตรวจสอบข้อมูลสถานะทางกฎหมายของพืชกระท่อม และการควบคุมสาร
ไมทราไจนีน (Mitragynine) ของประเทศปลายทางซึ่งเป็นผู้นำเข้าว่าอยู่ในสถานะได้ ก่อนดำเนินการส่งออก
ใบกระท่อมสามารถนำมาใช้ประโยชน์และเป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น อาหาร ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ยา และเครื่องสำอาง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การนำมาใช้ประโยชน์และผลิตเป็นสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อจำหน่ายหรือขายในทางการค้า ต้องได้รับอนุญาตและดำเนินการตามขั้นตอนและกระบวนการทางกฎหมายซึ่งควบคุมผลิตภัณฑ์ดังกล่าวนั้นด้วย โดยในการผลิตสินค้าซึ่งมีใบกระท่อมเป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบ สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (สำนักงาน อย.) ได้ที่สายด่วน 1556
กัญชาไม่ถือเป็นพืชเสพติด โดยถูกถอดจากบัญชียาเสพติดประเภท 5 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 จากประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การปลดล็อคกัญชา ยกเว้นสารสกัดเกิน 0.2 มิลลิกรัมยังเป็นยาเสพติด
ประชาชนสามารถมีกัญชาไว้ในครอบครองภายในประเทศไทยได้โดยไม่ผิดกฎหมาย แต่การขายกัญชาต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
สามารถปลูกกัญชาจำนวนกี่ต้นก็ได้ แต่ต้องขออนุญาตลงทะเบียนผ่านแอป “ปลูกกัญ”
การซื้อขายกัญชาสามารถทำได้ แต่การขายต้องได้รับอนุญาตและห้ามขายในกรณีดังต่อไปนี้
- ห้ามขายสมุนไพรควบคุม หรือแปรรูปสมุนไพรควบคุมเพื่อการค้า ให้กับผู้ที่มีอายุ ต่ำกว่ายี่สิบปี
สตรีมีครรภ์หรือสตรีให้นมบุตร
- ห้ามขายสมุนไพรควบคุม หรือแปรรูปสมุนไพรควบคุมเพื่อการค้า ให้กับนักเรียน นิสิตหรือนักศึกษา
- ห้ามขายสมุนไพรควบคุมเพื่อการสูบในสถานที่ประกอบการ เว้นแต่การขาย โดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หมอพื้นบ้านที่ได้รับการรับรองตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการรับรองหมอพื้นบ้าน พ.ศ. 2562 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพ การแพทย์แผนไทย ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนจีน ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะและผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพทันตกรรม ที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยของตน หรือผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการสัตวแพทย์ ที่ใช้ในการรักษาสัตว์
- ห้ามขายสมุนไพรควบคุม หรือสินค้าที่แปรรูปจากสมุนไพรควบคุมเพื่อการค้า ผ่านเครื่องขายสินค้าอัตโนมัติ (Vending Machine) ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์
- ห้ามโฆษณาสมุนไพรควบคุมในทุกช่องทางเพื่อการค้า
- ห้ามขายสมุนไพรควบคุม หรือสินค้าที่แปรรูปจากสมุนไพรควบคุมเพื่อการค้า ในสถานที่ ดังต่อไปนี้
(ก) วัดหรือสถานที่สำหรับปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา
(ข) หอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก
(ค) สวนสาธารณะ สวนสัตว์ และสวนสนุก
- ห้ามขายสมุนไพรควบคุม หรือแปรรูปสมุนไพรควบคุมเพื่อการค้า ให้กับผู้ที่มีอายุ ต่ำกว่ายี่สิบปี
สตรีมีครรภ์หรือสตรีให้นมบุตร
- ห้ามขายสมุนไพรควบคุม หรือแปรรูปสมุนไพรควบคุมเพื่อการค้า ให้กับนักเรียน นิสิตหรือนักศึกษา
- ห้ามขายสมุนไพรควบคุมเพื่อการสูบในสถานที่ประกอบการ เว้นแต่การขาย โดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หมอพื้นบ้านที่ได้รับการรับรองตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการรับรองหมอพื้นบ้าน พ.ศ. 2562 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพ การแพทย์แผนไทย ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนจีน ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะและผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพทันตกรรม ที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยของตน หรือผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการสัตวแพทย์ ที่ใช้ในการรักษาสัตว์
- ห้ามขายสมุนไพรควบคุม หรือสินค้าที่แปรรูปจากสมุนไพรควบคุมเพื่อการค้า ผ่านเครื่องขายสินค้าอัตโนมัติ (Vending Machine) ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์
- ห้ามโฆษณาสมุนไพรควบคุมในทุกช่องทางเพื่อการค้า
- ห้ามขายสมุนไพรควบคุม หรือสินค้าที่แปรรูปจากสมุนไพรควบคุมเพื่อการค้า ในสถานที่ ดังต่อไปนี้
(ก) วัดหรือสถานที่สำหรับปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา
(ข) หอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก
(ค) สวนสาธารณะ สวนสัตว์ และสวนสนุก
ปริมาณสาร THC จะต้องมีปริมาณไม่เกินกว่า 0.2 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
สามารถทำได้ โดยต้องขออนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้วแต่กรณี ยกตัวอย่างเช่น พิธีการศุลกากร ระเบียบการส่งออกพืช หรือ พรบ.พืชสมุนไพร เป็นต้น ทั้งนี้ ต้องไม่ผิดกฎหมายของประเทศปลายทางที่จะส่งออก
พืชกัญชายังคงมีส่วนที่เป็นยาเสพติดให้โทษอยู่ ทั้งนี้ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ พ.ศ. ๒๕๖๕ ซึ่งประกาศดังกล่าว กำหนดให้สารสกัดจากทุกส่วนของพืชกัญชาหรือกัญชงเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด ยกเว้น
(๑) สารสกัดที่มีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol, THC) ไม่เกินร้อยละ ๐.๒ โดยน้ำหนัก เฉพาะที่ได้รับอนุญาตให้สกัดจากพืชกัญชาหรือกัญชงที่ปลูกภายในประเทศ และ
(๒) สารสกัดจากเมล็ดของพืชกัญชาหรือกัญชง ที่ได้จากการปลูกภายในประเทศ
(๑) สารสกัดที่มีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol, THC) ไม่เกินร้อยละ ๐.๒ โดยน้ำหนัก เฉพาะที่ได้รับอนุญาตให้สกัดจากพืชกัญชาหรือกัญชงที่ปลูกภายในประเทศ และ
(๒) สารสกัดจากเมล็ดของพืชกัญชาหรือกัญชง ที่ได้จากการปลูกภายในประเทศ
สารสกัดที่มีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol, THC)
ไม่เกินร้อยละ ๐.๒ โดยน้ำหนัก เฉพาะที่ได้รับอนุญาตให้สกัดจากพืชกัญชาหรือกัญชงที่ปลูกภายในประเทศ
- สารสกัดจากเมล็ดของพืชกัญชาหรือกัญชง ที่ได้จากการปลูกภายในประเทศ
- ใบ กิ่งก้าน ลำต้น ราก เส้นใย เปลือก เมล็ด ช่อดอก ยาง ของพืชกัญชาและกัญชง
โดยมีมาตรการกำกับดูแลตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๔๒ พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นต้น
อย่างไรก็ดี ช่อดอกของพืชกัญชา ถูกกำหนดให้เป็นสมุนไพรควบคุมตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สมุนไพรควบคุม (กัญชา) พ.ศ. ๒๕๖๕
ไม่เกินร้อยละ ๐.๒ โดยน้ำหนัก เฉพาะที่ได้รับอนุญาตให้สกัดจากพืชกัญชาหรือกัญชงที่ปลูกภายในประเทศ
- สารสกัดจากเมล็ดของพืชกัญชาหรือกัญชง ที่ได้จากการปลูกภายในประเทศ
- ใบ กิ่งก้าน ลำต้น ราก เส้นใย เปลือก เมล็ด ช่อดอก ยาง ของพืชกัญชาและกัญชง
โดยมีมาตรการกำกับดูแลตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๔๒ พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นต้น
อย่างไรก็ดี ช่อดอกของพืชกัญชา ถูกกำหนดให้เป็นสมุนไพรควบคุมตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สมุนไพรควบคุม (กัญชา) พ.ศ. ๒๕๖๕
ช่อดอกของพืชกัญชา ถูกกำหนดให้เป็นสมุนไพรควบคุมตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สมุนไพรควบคุม (กัญชา) พ.ศ. ๒๕๖๕ ซึ่งอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๔๒ อันอยู่ในความรับผิดชอบของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข โดยมีสรุปสาระสำคัญ ดังนี้
(1) กำหนดให้ในการศึกษาวิจัย/ส่งออก/จำหน่าย/แปรรูปช่อดอกเพื่อการค้า ต้องขออนุญาตจากปลัด สธ. หรือผู้ซึ่งปลัด สธ. มอบหมาย
(2) กำหนดมาตรการห้ามโฆษณาสมุนไพรควบคุม (ช่อดอก) ในทุกช่องทางเพื่อการค้า
(3) กำหนดมาตรการคุ้มครองบุคคลบางกลุ่ม ได้แก่
- ห้ามจำหน่ายช่อดอก/แปรรูปช่อดอกเพื่อการค้า ให้กับ ผู้ที่อายุต่ำกว่า ๒๐ ปี/สตรีมีครรภ์/สตรีให้นมบุตร
- ห้ามจำหน่ายช่อดอก/แปรรูปช่อดอกเพื่อการค้า ให้กับ นักเรียน/นิสิต/นักศึกษา
(4) กำหนดมาตรการควบคุมการสูบช่อดอก
- ห้ามจำหน่ายช่อดอกเพื่อการสูบในสถานที่ประกอบการ เว้นแต่ เป็นการจำหน่ายโดย
ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม/แพทย์แผนไทย/แพทย์แผนไทยประยุกต์/หมอพื้นบ้าน/แพทย์แผนจีน/ทันตแพทย์/สัตวแพทย์ ที่ใช้รักษาผู้ป่วย-สัตว์ของตน
(5) กำหนดมาตรการควบคุมการจำหน่ายช่อดอกในบางวิธีการ
- ห้ามจำหน่ายช่อดอก/สินค้าที่แปรรูปจากช่อดอกเพื่อการค้า ผ่านเครื่องขายอัตโนมัติ/อิเล็กทรอนิกส์/เครือข่ายคอมฯ
(6) กำหนดมาตรการควบคุมการจำหน่ายช่อดอกในบางสถานที่
- ห้ามจำหน่ายช่อดอก/สินค้าที่แปรรูปจากช่อดอกเพื่อการค้า ในวัด/หอพัก/สวนสาธารณะ สวนสัตว์/สวนสนุก
(1) กำหนดให้ในการศึกษาวิจัย/ส่งออก/จำหน่าย/แปรรูปช่อดอกเพื่อการค้า ต้องขออนุญาตจากปลัด สธ. หรือผู้ซึ่งปลัด สธ. มอบหมาย
(2) กำหนดมาตรการห้ามโฆษณาสมุนไพรควบคุม (ช่อดอก) ในทุกช่องทางเพื่อการค้า
(3) กำหนดมาตรการคุ้มครองบุคคลบางกลุ่ม ได้แก่
- ห้ามจำหน่ายช่อดอก/แปรรูปช่อดอกเพื่อการค้า ให้กับ ผู้ที่อายุต่ำกว่า ๒๐ ปี/สตรีมีครรภ์/สตรีให้นมบุตร
- ห้ามจำหน่ายช่อดอก/แปรรูปช่อดอกเพื่อการค้า ให้กับ นักเรียน/นิสิต/นักศึกษา
(4) กำหนดมาตรการควบคุมการสูบช่อดอก
- ห้ามจำหน่ายช่อดอกเพื่อการสูบในสถานที่ประกอบการ เว้นแต่ เป็นการจำหน่ายโดย
ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม/แพทย์แผนไทย/แพทย์แผนไทยประยุกต์/หมอพื้นบ้าน/แพทย์แผนจีน/ทันตแพทย์/สัตวแพทย์ ที่ใช้รักษาผู้ป่วย-สัตว์ของตน
(5) กำหนดมาตรการควบคุมการจำหน่ายช่อดอกในบางวิธีการ
- ห้ามจำหน่ายช่อดอก/สินค้าที่แปรรูปจากช่อดอกเพื่อการค้า ผ่านเครื่องขายอัตโนมัติ/อิเล็กทรอนิกส์/เครือข่ายคอมฯ
(6) กำหนดมาตรการควบคุมการจำหน่ายช่อดอกในบางสถานที่
- ห้ามจำหน่ายช่อดอก/สินค้าที่แปรรูปจากช่อดอกเพื่อการค้า ในวัด/หอพัก/สวนสาธารณะ สวนสัตว์/สวนสนุก
ปัจจุบันยังพบการลักลอบปลูกฝิ่นในพื้นที่สูงทางภาคเหนือของประเทศไทย ประกอบด้วยพื้นที่ จ.เชียงใหม่ เชียงราย ตาก แม่ฮ่องสอน
ป.ป.ส. มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่สำรวจพื้นที่ลักลอบปลูกพืชเสพติด ชื่อว่า สถาบันสำรวจและควบคุมพืชเสพติด ซึ่งทำหน้าที่สำรวจพืชเสพติดโดยเฉพาะฝิ่น โดยการสำรวจทางอากาศ การสำรวจวิเคราะห์ประมวลผลและชี้พิกัดทางภูมิศาสตร์ผ่านการสำรวจระยะไกล remote sensing รวมทั้งการสำรวจภาคพื้นดินและการใช้โดรนในการสำรวจ และส่งข้อมูลพิกัดเพื่อให้หน่วยงานตัดทำลายดำเนินงานต่อไป
เลขาธิการ ป.ป.ส. เป็นผู้มีอำนาจอนุมัติแจ้งข้อหาผู้กระทำความผิดตามมาตรา 127 หรือมาตรา 125 แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติด
กรณีที่พนักงานสอบสวนส่งสำนวนให้พนักงานอัยการเพื่อฟ้องคดีแล้ว พนักงานอัยการเห็นควร
แจ้งข้อหาแก่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 125 หรือมาตรา 127 แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติดเพิ่มเติม
ให้หัวหน้าพนักงานอัยการ เป็นผู้มีอำนาจอนุมัติให้แจ้งข้อหาเพื่อดำเนินคดี
กรณีที่พนักงานสอบสวนส่งสำนวนให้พนักงานอัยการเพื่อฟ้องคดีแล้ว พนักงานอัยการเห็นควร
แจ้งข้อหาแก่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 125 หรือมาตรา 127 แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติดเพิ่มเติม
ให้หัวหน้าพนักงานอัยการ เป็นผู้มีอำนาจอนุมัติให้แจ้งข้อหาเพื่อดำเนินคดี
การสมคบกันกระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด คือการสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่
สองคนขึ้นไป เพื่อกระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๕ ปี ปรับไม่เกิน
๕0๐,๐๐๐ บาท
ถ้าได้มีการกระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด เพราะเหตุมีการสมคบกันตามวรรคหนึ่ง
ผู้สมคบกันนั้นต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
สองคนขึ้นไป เพื่อกระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๕ ปี ปรับไม่เกิน
๕0๐,๐๐๐ บาท
ถ้าได้มีการกระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด เพราะเหตุมีการสมคบกันตามวรรคหนึ่ง
ผู้สมคบกันนั้นต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
๑. สนับสนุนหรือช่วยเหลือผู้กระทำความผิดก่อนหรือขณะกระทำความผิด
๒. จัดหาหรือให้เงินหรือทรัพย์สิน ยานพาหนะ สถานที่ หรือวัตถุใดๆ เพื่อประโยชน์
หรือให้ความสะดวกแก่การกระทำความผิด หรือเพื่อมิให้ผู้กระทำความผิดถูกลงโทษ
๓. จัดหาหรือให้เงินหรือทรัพย์สิน ที่ประชุม ที่พำนัก หรือที่ซ่อนเร้นเพื่อช่วยเหลือ
หรือให้ความสะดวกแก่ผู้กระทำความผิด หรือเพื่อช่วยให้ผู้กระทำความผิดพ้นจากการจับกุม
๔. รับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดจากผู้กระทำความผิดเพื่อประโยชน์ หรือให้ความสะดวก
แก่การกระทำความผิด หรือเพื่อมิให้ผู้กระทำความผิดถูกลงโทษ
๕. ปกปิด ซ่อนเร้น หรือเอาไปเสียซึ่งยาเสพติดหรือวัตถุใดๆ ที่ใช้ในการกระทำความผิด
เพื่อช่วยเหลือผู้กระทำความผิด
๖. ชี้แนะหรือติดต่อบุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ในการกระทำความผิด
ผู้กระทำความผิดฐานสนับสนุนหรือช่วยเหลือผู้กระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด
ตามมาตรา 125 แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติด ต้องระวางโทษเช่นเดียวกันตัวการในความผิดนั้น
๒. จัดหาหรือให้เงินหรือทรัพย์สิน ยานพาหนะ สถานที่ หรือวัตถุใดๆ เพื่อประโยชน์
หรือให้ความสะดวกแก่การกระทำความผิด หรือเพื่อมิให้ผู้กระทำความผิดถูกลงโทษ
๓. จัดหาหรือให้เงินหรือทรัพย์สิน ที่ประชุม ที่พำนัก หรือที่ซ่อนเร้นเพื่อช่วยเหลือ
หรือให้ความสะดวกแก่ผู้กระทำความผิด หรือเพื่อช่วยให้ผู้กระทำความผิดพ้นจากการจับกุม
๔. รับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดจากผู้กระทำความผิดเพื่อประโยชน์ หรือให้ความสะดวก
แก่การกระทำความผิด หรือเพื่อมิให้ผู้กระทำความผิดถูกลงโทษ
๕. ปกปิด ซ่อนเร้น หรือเอาไปเสียซึ่งยาเสพติดหรือวัตถุใดๆ ที่ใช้ในการกระทำความผิด
เพื่อช่วยเหลือผู้กระทำความผิด
๖. ชี้แนะหรือติดต่อบุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ในการกระทำความผิด
ผู้กระทำความผิดฐานสนับสนุนหรือช่วยเหลือผู้กระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด
ตามมาตรา 125 แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติด ต้องระวางโทษเช่นเดียวกันตัวการในความผิดนั้น
สถานประกอบการที่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหาการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการ มี 7 ประเภท ดังนี้
1 สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงและ ให้รวมถึงสถานที่ที่ใช้ในการประกอบกิจการต่าง ๆ ซึ่งอยู่ในความควบคุม ดูแล หรืออาศัยสิทธิของเจ้าของหรือผู้ดำเนินการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงด้วย
2 สถานีบริการที่บรรจุก๊าซให้แก่ยานพาหนะทั้งทางบกและทางน้ำ ตามกฎกระทรวงที่
ออกตามกฎหมายว่าด้วยการบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว
3 สถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ
4 ที่พักอาศัยในเชิงพาณิชย์ประเภทหอพัก อาคารชุดหรือเกสเฮ้าส์ (Guest House) ที่ให้ผู้อื่นเช่า
5 สถานที่ที่ได้จัดให้มีการเล่นบิลเลียด สนุกเกอร์ ซึ่งเก็บค่าบริการจากผู้เล่น
6 โรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
7 สถานที่หรือที่เก็บสินค้าหรือพัสดุภัณฑ์ซึ่งผู้ประกอบการขนส่งใช้ประกอบกิจการขนส่งสินค้าหรือพัสดุภัณฑ์
1 สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงและ ให้รวมถึงสถานที่ที่ใช้ในการประกอบกิจการต่าง ๆ ซึ่งอยู่ในความควบคุม ดูแล หรืออาศัยสิทธิของเจ้าของหรือผู้ดำเนินการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงด้วย
2 สถานีบริการที่บรรจุก๊าซให้แก่ยานพาหนะทั้งทางบกและทางน้ำ ตามกฎกระทรวงที่
ออกตามกฎหมายว่าด้วยการบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว
3 สถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ
4 ที่พักอาศัยในเชิงพาณิชย์ประเภทหอพัก อาคารชุดหรือเกสเฮ้าส์ (Guest House) ที่ให้ผู้อื่นเช่า
5 สถานที่ที่ได้จัดให้มีการเล่นบิลเลียด สนุกเกอร์ ซึ่งเก็บค่าบริการจากผู้เล่น
6 โรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
7 สถานที่หรือที่เก็บสินค้าหรือพัสดุภัณฑ์ซึ่งผู้ประกอบการขนส่งใช้ประกอบกิจการขนส่งสินค้าหรือพัสดุภัณฑ์
เจ้าของหรือผู้ดำเนินกิจการสถานประกอบการทั้ง 7 ประเภท ให้ปฏิบัติดังนี้
1 ควบคุมสอดส่องและดูแลไม่ให้พนักงานของสถานประกอบการหรือบุคคลภายนอกกระทำการหรือมั่วสุมกันกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในหรือบริเวณสถานประกอบการ
2 พิจารณาคัดเลือกบุคลากรที่ไม่มีพฤติการณ์ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเข้าเป็นพนักงาน ทั้งนี้ ไม่รวมถึงผู้เสพยาเสพติดซึ่งได้รับการบำบัดการติดยาเสพติดและฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ติดยาเสพติดให้กลับคืนสู่สภาพปกติแล้ว และจัดอบรมพนักงานของตนให้มีความเข้าใจในการป้องกันการใช้ยาเสพติดอย่างสม่ำเสมอ
3 จัดทำบันทึกประวัติของพนักงานไว้ประจำสถานประกอบการ โดยบันทึกประวัตินี้อย่างน้อยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อและนามสกุล เลขบัตรประจำตัวประชาชน ที่อยู่ และภูมิลำเนาของพนักงาน
4 ให้ความร่วมมือกับเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ในการแจ้ง
เมื่อพบว่ามีการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือให้ข้อมูล ข่าวสารหรือพฤติการณ์ต่างๆ ของบุคคล
ซึ่งมีเหตุอันควรสงสัยหรือควรเชื่อได้ว่าจะกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการของตน
และอำนวยความสะดวกในการตรวจหรือทดสอบหาสารเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดียาเสพติด
5 จัดให้มีป้ายหรือประกาศเตือนเกี่ยวกับพิษภัยหรืออัตราโทษตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด ป้ายหรือประกาศดังกล่าวจะต้องมีความชัดเจน เห็นได้ง่าย และมีข้อความที่แสดงว่า สถานประกอบการนี้อยู่ภายใต้บังคับมาตรการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหาการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการ ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด ข้อความดังกล่าวจะมีภาษาอื่นนอกจากภาษาไทยก็ได้
แต่ข้อความภาษาอื่นต้องมีความหมายตรงกับข้อความภาษาไทยและมีขนาดไม่ใหญ่กว่าข้อความภาษาไทย ทั้งนี้ เจ้าของหรือผู้ดำเนินกิจการสถานที่หรือที่เก็บสินค้าหรือพัสดุภัณฑ์ซึ่งผู้ประกอบการขนส่งใช้ประกอบกิจการขนส่งสินค้าหรือพัสดุภัณฑ์ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจัดทำป้ายหรือประกาศเตือนเกี่ยวกับพิษหรือ
อัตราโทษตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด
ลักษณะ ขนาด และรายละเอียดของข้อความให้เป็นไปตามท้ายประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เรื่อง กำหนดมาตรการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหาการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการ
สำหรับเจ้าของหรือผู้ดำเนินกิจการสถานที่หรือที่เก็บสินค้าหรือพัสดุภัณฑ์ซึ่งผู้ประกอบการขนส่งใช้ประกอบกิจการขนส่งสินค้าหรือพัสดุภัณฑ์ ให้ปฏิบัติเพิ่มเติมดังนี้
1 เมื่อรับมอบสินค้าหรือพัสดุภัณฑ์จากผู้ส่งหรือผู้ฝากให้ปฏิบัติดังนี้
(1) จัดทำบันทึกรายละเอียดชื่อ นามสกุล เลขประจำตัวประชาชนหรือเลขหนังสือเดินทางของผู้ส่งหรือผู้ฝาก รวมทั้งบันทึกรายละเอียดของผู้รับสิ่งของหรือผู้รับแทนไว้ด้วย
(2) การบันทึกดังกล่าวอาจจัดทำเป็นเอกสารหรือข้อมูลในระบบสารสนเทศหรือวิธีการอื่นใดที่สามารถให้ข้อมูลพิสูจน์ตัวบุคคลได้ ในกรณีได้จัดทำใบกำกับของหรือใบตราส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้ถือเป็นสาระสำคัญส่วนหนึ่งของบันทึกดังกล่าวด้วย
(3) ให้จัดเก็บข้อมูลดังกล่าวไว้เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนสอบสวนเป็นระยะเวลา ไม่น้อยกว่า ๑๘๐ วัน นับแต่วันที่ได้จัดทำบันทึก
2 ในกรณีพบหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามียาเสพติดซุกซ่อนในสินค้าหรือพัสดุภัณฑ์ในหรือบริเวณสถานประกอบการซึ่งอยู่ในความดูแล ให้แจ้งเหตุโดยเร็วที่สุด และหากพบยาเสพติดให้จัดส่งบันทึก (1) (๒) (๓) ต่อ เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ภายใน ๑๕ วัน นับแต่ได้ทราบเหตุนั้น
3 ปิดประกาศหรือแจ้งข้อความให้ผู้ส่งหรือผู้ฝากสินค้าหรือพัสดุภัณฑ์และผู้รับสิ่งของดังกล่าวทราบว่า “ยาเสพติดเป็นสิ่งของผิดกฎหมายและต้องห้ามในการขนส่งโดยเด็ดขาด สิ่งของที่เกี่ยวข้องอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีตามกฎหมายได้” หรือพิมพ์หรือประทับข้อความดังกล่าวบนใบกำกับของหรือใบตราส่งหรือเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
1 ควบคุมสอดส่องและดูแลไม่ให้พนักงานของสถานประกอบการหรือบุคคลภายนอกกระทำการหรือมั่วสุมกันกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในหรือบริเวณสถานประกอบการ
2 พิจารณาคัดเลือกบุคลากรที่ไม่มีพฤติการณ์ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเข้าเป็นพนักงาน ทั้งนี้ ไม่รวมถึงผู้เสพยาเสพติดซึ่งได้รับการบำบัดการติดยาเสพติดและฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ติดยาเสพติดให้กลับคืนสู่สภาพปกติแล้ว และจัดอบรมพนักงานของตนให้มีความเข้าใจในการป้องกันการใช้ยาเสพติดอย่างสม่ำเสมอ
3 จัดทำบันทึกประวัติของพนักงานไว้ประจำสถานประกอบการ โดยบันทึกประวัตินี้อย่างน้อยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อและนามสกุล เลขบัตรประจำตัวประชาชน ที่อยู่ และภูมิลำเนาของพนักงาน
4 ให้ความร่วมมือกับเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ในการแจ้ง
เมื่อพบว่ามีการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือให้ข้อมูล ข่าวสารหรือพฤติการณ์ต่างๆ ของบุคคล
ซึ่งมีเหตุอันควรสงสัยหรือควรเชื่อได้ว่าจะกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการของตน
และอำนวยความสะดวกในการตรวจหรือทดสอบหาสารเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดียาเสพติด
5 จัดให้มีป้ายหรือประกาศเตือนเกี่ยวกับพิษภัยหรืออัตราโทษตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด ป้ายหรือประกาศดังกล่าวจะต้องมีความชัดเจน เห็นได้ง่าย และมีข้อความที่แสดงว่า สถานประกอบการนี้อยู่ภายใต้บังคับมาตรการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหาการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการ ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด ข้อความดังกล่าวจะมีภาษาอื่นนอกจากภาษาไทยก็ได้
แต่ข้อความภาษาอื่นต้องมีความหมายตรงกับข้อความภาษาไทยและมีขนาดไม่ใหญ่กว่าข้อความภาษาไทย ทั้งนี้ เจ้าของหรือผู้ดำเนินกิจการสถานที่หรือที่เก็บสินค้าหรือพัสดุภัณฑ์ซึ่งผู้ประกอบการขนส่งใช้ประกอบกิจการขนส่งสินค้าหรือพัสดุภัณฑ์ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจัดทำป้ายหรือประกาศเตือนเกี่ยวกับพิษหรือ
อัตราโทษตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด
ลักษณะ ขนาด และรายละเอียดของข้อความให้เป็นไปตามท้ายประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เรื่อง กำหนดมาตรการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหาการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการ
สำหรับเจ้าของหรือผู้ดำเนินกิจการสถานที่หรือที่เก็บสินค้าหรือพัสดุภัณฑ์ซึ่งผู้ประกอบการขนส่งใช้ประกอบกิจการขนส่งสินค้าหรือพัสดุภัณฑ์ ให้ปฏิบัติเพิ่มเติมดังนี้
1 เมื่อรับมอบสินค้าหรือพัสดุภัณฑ์จากผู้ส่งหรือผู้ฝากให้ปฏิบัติดังนี้
(1) จัดทำบันทึกรายละเอียดชื่อ นามสกุล เลขประจำตัวประชาชนหรือเลขหนังสือเดินทางของผู้ส่งหรือผู้ฝาก รวมทั้งบันทึกรายละเอียดของผู้รับสิ่งของหรือผู้รับแทนไว้ด้วย
(2) การบันทึกดังกล่าวอาจจัดทำเป็นเอกสารหรือข้อมูลในระบบสารสนเทศหรือวิธีการอื่นใดที่สามารถให้ข้อมูลพิสูจน์ตัวบุคคลได้ ในกรณีได้จัดทำใบกำกับของหรือใบตราส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้ถือเป็นสาระสำคัญส่วนหนึ่งของบันทึกดังกล่าวด้วย
(3) ให้จัดเก็บข้อมูลดังกล่าวไว้เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนสอบสวนเป็นระยะเวลา ไม่น้อยกว่า ๑๘๐ วัน นับแต่วันที่ได้จัดทำบันทึก
2 ในกรณีพบหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามียาเสพติดซุกซ่อนในสินค้าหรือพัสดุภัณฑ์ในหรือบริเวณสถานประกอบการซึ่งอยู่ในความดูแล ให้แจ้งเหตุโดยเร็วที่สุด และหากพบยาเสพติดให้จัดส่งบันทึก (1) (๒) (๓) ต่อ เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ภายใน ๑๕ วัน นับแต่ได้ทราบเหตุนั้น
3 ปิดประกาศหรือแจ้งข้อความให้ผู้ส่งหรือผู้ฝากสินค้าหรือพัสดุภัณฑ์และผู้รับสิ่งของดังกล่าวทราบว่า “ยาเสพติดเป็นสิ่งของผิดกฎหมายและต้องห้ามในการขนส่งโดยเด็ดขาด สิ่งของที่เกี่ยวข้องอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีตามกฎหมายได้” หรือพิมพ์หรือประทับข้อความดังกล่าวบนใบกำกับของหรือใบตราส่งหรือเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ติดต่อได้ที่ 1386
เมื่อทราบว่าถูกอายัดบัญชีธนาคาร ในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด โดยสำนักงาน ป.ป.ส.
ซึ่งเป็นการอายัดบัญชีธนาคารไว้ชั่วคราวในระหว่างการตรวจสอบทรัพย์สิน เจ้าของบัญชีธนาคารที่ถูกอายัดจะต้องชี้แจงข้อเท็จจริง และแสดงเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับบัญชีธนาคาร
ที่ถูกอายัดให้แก่ เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน เพื่อพิสูจน์ว่าทรัพย์สินนั้นไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด
จากนั้นจะนำเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบทรัพย์สิน เพื่อเสนอคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินพิจารณามีคำสั่งให้ยึดอายัด หรือคืนทรัพย์สินต่อไป
ซึ่งเป็นการอายัดบัญชีธนาคารไว้ชั่วคราวในระหว่างการตรวจสอบทรัพย์สิน เจ้าของบัญชีธนาคารที่ถูกอายัดจะต้องชี้แจงข้อเท็จจริง และแสดงเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับบัญชีธนาคาร
ที่ถูกอายัดให้แก่ เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน เพื่อพิสูจน์ว่าทรัพย์สินนั้นไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด
จากนั้นจะนำเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบทรัพย์สิน เพื่อเสนอคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินพิจารณามีคำสั่งให้ยึดอายัด หรือคืนทรัพย์สินต่อไป
สามารถทำได้ แต่ต้องดำเนินการตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติพืชกระท่อม พ.ศ. 2565
มาตรา 3 : การใช้ใบกระท่อมเป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์สมุนไพรตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์สมุนไพร ยาตามกฎหมายว่าด้วยยา อาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร เครื่องสำอางตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องสำอาง หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดตามที่มีกฎหมายเฉพาะบัญญัติไว้ รวมถึงการนำเข้า การส่งออก การขาย และการโฆษณา ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น เว้นแต่กรณีที่บัญญัติไว้ในหมวด 5 การคุ้มครองบุคคลซึ่งอาจได้รับอันตรายจากการบริโภคในกระท่อมและการป้องกันการใช้ใบกระท่อมและการป้องกันการใช้ใบกระท่อมในทางที่ผิด
มาตรา 3 : การใช้ใบกระท่อมเป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์สมุนไพรตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์สมุนไพร ยาตามกฎหมายว่าด้วยยา อาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร เครื่องสำอางตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องสำอาง หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดตามที่มีกฎหมายเฉพาะบัญญัติไว้ รวมถึงการนำเข้า การส่งออก การขาย และการโฆษณา ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น เว้นแต่กรณีที่บัญญัติไว้ในหมวด 5 การคุ้มครองบุคคลซึ่งอาจได้รับอันตรายจากการบริโภคในกระท่อมและการป้องกันการใช้ใบกระท่อมและการป้องกันการใช้ใบกระท่อมในทางที่ผิด
ห้ามขายใบกระท่อม หรืออาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหารที่มีใบกระท่อมเป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบ ให้แก่บุคคลตามมาตรา 24 หากผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท ตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติพืชกระท่อม พ.ศ. 2565
มาตรา 24 : ห้ามผู้ใดขายใบกระท่อม หรืออาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหารที่มีใบกระท่อม เป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบแก่บุคคล ดังต่อไปนี้
(1) บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี
(2) สตรีมีครรภ์
(3) สตรีให้นมบุตร
(4) บุคคลอื่นใดตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขร่วมกันประกาศกำหนด
ให้ผู้ขายหน้าที่ปิดประกาศหรือแจ้ง ณ สถานที่ขาย ให้ทราบถึงข้อห้ามขายแก่บุคคลตามวรรคหนึ่งในกรณีที่เป็นการขายโดยวิธีการหรือในลักษณะอื่น เช่น การขายทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ดำเนินการดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด
ความในวรรคหนึ่ง ไม่ใช้บังคับแก่อาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหารตามชนิดและประเภทที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด
มาตรา 33 : ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 24 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท
มาตรา 24 : ห้ามผู้ใดขายใบกระท่อม หรืออาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหารที่มีใบกระท่อม เป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบแก่บุคคล ดังต่อไปนี้
(1) บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี
(2) สตรีมีครรภ์
(3) สตรีให้นมบุตร
(4) บุคคลอื่นใดตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขร่วมกันประกาศกำหนด
ให้ผู้ขายหน้าที่ปิดประกาศหรือแจ้ง ณ สถานที่ขาย ให้ทราบถึงข้อห้ามขายแก่บุคคลตามวรรคหนึ่งในกรณีที่เป็นการขายโดยวิธีการหรือในลักษณะอื่น เช่น การขายทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ดำเนินการดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด
ความในวรรคหนึ่ง ไม่ใช้บังคับแก่อาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหารตามชนิดและประเภทที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด
มาตรา 33 : ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 24 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท
ไม่สามารถขายได้ทุกหนทุกแห่ง โดยห้ามขายใบกระท่อมในสถานที่ โดยวิธีการหรือในลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 25 หากผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท ทั้งนี้หากไปกระทำกับบุคคลตามมาตรา 24 ต้องระวางโทษเป็น 2 เท่า ตามมาตรา 34
มาตรา 25 : ห้ามผู้ใดขายใบกระท่อมในสถานที่ โดยวิธีการ หรือในลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
(2) หอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก
(3) สวนสาธารณะ สวนสัตว์ และสวนสนุก
(4) ขายโดยใช้เครื่องขาย
(5) ขายในสถานที่ โดยวิธีการ หรือในลักษณะอื่นใด ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขร่วมกันประกาศกำหนด
มาตรา 34 : ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 25 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำต่อบุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี สตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร หรือบุคคลอื่นใดตามที่รัฐมนตรีว่าการระทรวงยุติธรรมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขร่วมกันประกาศกำหนดตามมาตรา 24 (4) ผู้กระทำต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของอัตราโทษตามวรรคหนึ่ง
มาตรา 25 : ห้ามผู้ใดขายใบกระท่อมในสถานที่ โดยวิธีการ หรือในลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
(2) หอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก
(3) สวนสาธารณะ สวนสัตว์ และสวนสนุก
(4) ขายโดยใช้เครื่องขาย
(5) ขายในสถานที่ โดยวิธีการ หรือในลักษณะอื่นใด ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขร่วมกันประกาศกำหนด
มาตรา 34 : ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 25 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำต่อบุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี สตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร หรือบุคคลอื่นใดตามที่รัฐมนตรีว่าการระทรวงยุติธรรมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขร่วมกันประกาศกำหนดตามมาตรา 24 (4) ผู้กระทำต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของอัตราโทษตามวรรคหนึ่ง
ไม่สามารถกระทำได้ โดยห้ามผู้ใดบริโภคและยกเว้นตามมาตรา 27 หากผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท ตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติพืชกระท่อม พ.ศ. 2565
มาตรา 27 : ห้ามผู้ใดบริโภคใบกระท่อมที่ปรุงหรือผสมกับยาเสพติดให้โทษหรือวัตถุออกฤทธิ์ ตามประมมวลกฎหมายยาเสพติด ยาตามกฎหมายว่าด้วยยา วัตถุอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย หรือวัตถุอื่นใดตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมประกาศกำหนด เว้นแต่เป็นการบริโภคตามวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
(1) เพื่อการรักษาโรค บำบัด หรือบรรเทาอาการเจ็บป่วยภายใต้การกำกับดูแลของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทย ผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือหมอพื้นบ้านตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์แผนไทย
(2) เพื่อการศึกษา วิเคราะห์ หรือวิจัยที่ดำเนินการโดยหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ศึกษาวิจัย หรือจัดการเรียนการสอนทางการแพทย์ เภสัชศาสตร์ หรือมีหน้าที่ให้บริการทางการแพทย์ เภสัชกรรม หรือวิทยาศาสตร์ เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์หรือเภสัชกรรม สภากาชาดไทย หรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่มีหน้าที่ศึกษาวิจัยและจัดการเรียนการสอนทางการแพทย์หรือเภสัชศาสตร์ ซึ่งปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องและได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการที่ดำเนินการเกี่ยวกับจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของผู้ทำการศึกษา วิเคราะห์ หรือวิจัยนั้น หรือคณะกรรมการที่ดำเนินการเกี่ยวกับจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ตามที่เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยากำหนดในกรณีที่เป็นการศึกษา วิเคราะห์ หรือวิจัย ที่ดำเนินการร่วมกันหลายองค์กรหรือหลายหน่วยงาน
มาตรา 36 : ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 27 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
มาตรา 27 : ห้ามผู้ใดบริโภคใบกระท่อมที่ปรุงหรือผสมกับยาเสพติดให้โทษหรือวัตถุออกฤทธิ์ ตามประมมวลกฎหมายยาเสพติด ยาตามกฎหมายว่าด้วยยา วัตถุอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย หรือวัตถุอื่นใดตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมประกาศกำหนด เว้นแต่เป็นการบริโภคตามวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
(1) เพื่อการรักษาโรค บำบัด หรือบรรเทาอาการเจ็บป่วยภายใต้การกำกับดูแลของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทย ผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือหมอพื้นบ้านตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์แผนไทย
(2) เพื่อการศึกษา วิเคราะห์ หรือวิจัยที่ดำเนินการโดยหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ศึกษาวิจัย หรือจัดการเรียนการสอนทางการแพทย์ เภสัชศาสตร์ หรือมีหน้าที่ให้บริการทางการแพทย์ เภสัชกรรม หรือวิทยาศาสตร์ เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์หรือเภสัชกรรม สภากาชาดไทย หรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่มีหน้าที่ศึกษาวิจัยและจัดการเรียนการสอนทางการแพทย์หรือเภสัชศาสตร์ ซึ่งปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องและได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการที่ดำเนินการเกี่ยวกับจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของผู้ทำการศึกษา วิเคราะห์ หรือวิจัยนั้น หรือคณะกรรมการที่ดำเนินการเกี่ยวกับจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ตามที่เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยากำหนดในกรณีที่เป็นการศึกษา วิเคราะห์ หรือวิจัย ที่ดำเนินการร่วมกันหลายองค์กรหรือหลายหน่วยงาน
มาตรา 36 : ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 27 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
ไม่สามารถกระทำได้ โดยห้ามโฆษณาหรือทำการตลาดเพื่อจูงใจตามมาตรา 26 หากผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติพืชกระท่อม พ.ศ. 2565
มาตรา 26 : ห้ามผู้ใดโฆษณาหรือทำการสื่อสารการตลาดใบกระท่อมโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อจูงใจสาธารณชนให้บริโภคใบกระท่อมที่ปรุงหรือผสมกับยาเสพติดให้โทษหรือวัตถุออกฤทธิ์ ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด ยาตามกฎหมายว่าด้วยยา วัตถุอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย หรือวัตถุอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 27
มาตรา 35 : ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 26 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 26 : ห้ามผู้ใดโฆษณาหรือทำการสื่อสารการตลาดใบกระท่อมโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อจูงใจสาธารณชนให้บริโภคใบกระท่อมที่ปรุงหรือผสมกับยาเสพติดให้โทษหรือวัตถุออกฤทธิ์ ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด ยาตามกฎหมายว่าด้วยยา วัตถุอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย หรือวัตถุอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 27
มาตรา 35 : ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 26 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ไม่สามารถกระทำได้ โดยห้ามผู้ใดจูงใจ ชักนำ ยุยง หลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้อำนาจ หรือขืนใจ ตามมาตรา 28 หากผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้หากไปกระทำกับบุคคลตามมาตรา 24 ต้องระวางโทษเป็น 2 เท่า ตามมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติพืชกระท่อม พ.ศ. 2565
มาตรา 28 : ห้ามผู้ใดจูงใจ ชักนำ ยุยงส่งเสริม ใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีขืนใจด้วยประการอื่นใดให้ผู้อื่นบริโภคใบกระท่อมตามมาตรา 27
มาตรา 37 : ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 28 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำต่อบุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี สตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร หรือบุคคลอื่นใดตามที่รัฐมนตรีว่าการประทรวงยุติธรรมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขร่วมกันประกาศกำหนดตามมาตรา 24 (4) ผู้กระทำต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของอัตราโทษตามวรรคหนึ่ง
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการจะนำใบกระท่อมไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ควรศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น หรือขอคำแนะนำจากหน่วยงานในสังกัดของ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข อาทิเช่น กองยา กองอาหาร กองผลิตภัณฑ์สมุนไพรกองผลิตภัณฑ์สุขภาพนวัตกรรมและการบริการ เป็นต้น รวมถึงควรศึกษามาตรการต่าง ๆ ในหมวด 5 การคุ้มครองบุคคลซึ่งอาจได้รับอันตรายจากการบริโภคใบกระท่อมและการป้องกันการใช้ใบกระท่อมในทางที่ผิด แห่งพระราชบัญญัติพืชกระท่อม พ.ศ. 2565 หรือขอคำแนะนำจากหน่วยงานในสังกัดของสำนักงาน ป.ป.ส. เช่น กองกฎหมาย หรือสถาบันสำรวจและควบคุมพืชเสพติด เป็นต้น เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและสามารถปฏิบัติได้ถูกต้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นการคุ้มครองตนเองและผู้บริโภคให้เกิดความปลอดภัยและไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีใบกระท่อมเป็นส่วนประกอบหรือจากการนำใบกระท่อมไปใช้ในทางที่ผิด
มาตรา 28 : ห้ามผู้ใดจูงใจ ชักนำ ยุยงส่งเสริม ใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีขืนใจด้วยประการอื่นใดให้ผู้อื่นบริโภคใบกระท่อมตามมาตรา 27
มาตรา 37 : ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 28 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำต่อบุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี สตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร หรือบุคคลอื่นใดตามที่รัฐมนตรีว่าการประทรวงยุติธรรมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขร่วมกันประกาศกำหนดตามมาตรา 24 (4) ผู้กระทำต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของอัตราโทษตามวรรคหนึ่ง
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการจะนำใบกระท่อมไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ควรศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น หรือขอคำแนะนำจากหน่วยงานในสังกัดของ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข อาทิเช่น กองยา กองอาหาร กองผลิตภัณฑ์สมุนไพรกองผลิตภัณฑ์สุขภาพนวัตกรรมและการบริการ เป็นต้น รวมถึงควรศึกษามาตรการต่าง ๆ ในหมวด 5 การคุ้มครองบุคคลซึ่งอาจได้รับอันตรายจากการบริโภคใบกระท่อมและการป้องกันการใช้ใบกระท่อมในทางที่ผิด แห่งพระราชบัญญัติพืชกระท่อม พ.ศ. 2565 หรือขอคำแนะนำจากหน่วยงานในสังกัดของสำนักงาน ป.ป.ส. เช่น กองกฎหมาย หรือสถาบันสำรวจและควบคุมพืชเสพติด เป็นต้น เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและสามารถปฏิบัติได้ถูกต้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นการคุ้มครองตนเองและผู้บริโภคให้เกิดความปลอดภัยและไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีใบกระท่อมเป็นส่วนประกอบหรือจากการนำใบกระท่อมไปใช้ในทางที่ผิด